วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วรรณคดีไทยเรื่องปลาบู่ทอง



ปลาบู่ทอง



นานมาแล้ว มีชายหาปลาคนหนึ่งชื่อว่า “ ทารก ”(ทาระกะ) เขามีภรรยาสองคน คนแรกชื่อว่า “ ขนิษฐา ” คนที่สองชื่อว่า “ ขนิษฐี ” นางกนิษฐามีลูกสาวคนเดียวชื่อว่า “ เอื้อย ” ในขณะที่นางกนิษฐีมีลูกสาวสองคน คนแรกชื่อ “ อ้าย ” กับ “ อี่ ” ชายหาปลาไม่ชอบภรรยาหลวงและลูกสาวของนาง จึงมักจะดุค่าและบังคับให้ทำงานหนักทุกวันในขณะที่นางกนิษฐีผู้เป็นภรรยาน้อยกับลูกสาวสองคนใช้ชีวิตอยู่อย่างสบายเพราะไม่ต้องทำงานหนักเหมือนอย่าง แม่ลูกคู่นั้น อย่างไรก็ตามทั้งนางกนิษฐีและลูก ๆ ของนางก็ยังเกลียดนางกนิษฐาและเอื้อยอีกซ้ำยังอิจฉาริษยา และหาทางกลั่นแกล้งสองแม่ลูกอยู่ตลอดเวลา  ทุก ๆ เช้า ชายหาปลาจะออกไปทอดแหหาปลาในแม่น้ำและจะมีภรรยาสองคนผลัดกันเป็นคนพายเรือ ให้คนละวันหลังจากได้ปลามากพอในแต่ละวันแล้วก็จะนำไปขายที่ตลาดก่อนกลับบ้าน อยู่มาวันหนึ่ง นางกนิษฐาทำหน้าที่เป็นคนพายเรือให้สามีในขณะหาปลา แต่ว่าไม่ได้ปลาสักตัวเดียวนอกจากปลาบู่ทองตัวหนึ่งเท่านั้น ตลอดทั้งวันชายหาปลาทอดแหแล้วทอดอีกก็ได้แต่ปลาบู่ทองตัวเดิมมาทุกทีเขาปล่อยมันลงไปในน้ำแต่ไม่นานมันก็ติดแหขึ้นมาอีก เขาโมโหมาก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี และทุกครั้งที่เขา ได้ปลาบู่ขึ้นมาภรรยาของเขาก็จะขอเขาไว้เพื่อเก็บไว้ให้ลูกของตนเลี้ยงเล่นแต่เขาจะโยนมันทิ้งไปโดยไม่แยแส คำขอร้องของภรรยาตนแต่ในที่สุดก็เกิดบันดาลโทสะอย่างแรงจนถึงขั้นตบดีนางและผลักนางลงน้ำไป ภรรยา ของเขาจึงจมน้ำตายเพราะว่ายน้ำไม่เป็น ด้วยเหตุนี้ชายหาปลาจึงกลับบ้านเพียงลำพัง และพบเอื้อยกำลังรอแม่ของตนกลับมาอยู่ และเมื่อลูก สาวถามหาแม่เขาก็ปฏิเสธที่จะพูดอะไรออกไปเมื่อลูกสาวคะยั้นคะยออยู่ตลอดเวลาเขาจึงบอกว่าแม่ของนางไป อยู่ใต้น้ำและจะกลับมาในอีก 3 วัน และบอกให้ลูกสาวหยุดร้องไห้มิฉะนั้นแล้วแม่ของนางจะไม่กลับมาอีกเลย และถึงแม้ว่าเด็กสาวจะไม่เข้าใจว่าบิดาของตนพูดอะไร แต่ก็นึกเอาว่ามารดาของตนต้องประสบอันตรายอย่าง แน่นอน ดังนั้นนางจึงร้องไห้โฮออกมา ฝ่ายชายหาปลาเกรงว่าข่าวการหายไปของภรรยาตนจะแพร่หลาย จึงบังคับให้ลูกสาวหยุดร้องไห้ในทันทีและเริ่มทุบตีนาง เพื่อนบ้านเข้ามาขัดขวางและถามถึงภรรยาหลวงของเขา ชายหาปลาก็พูดโกหกไปว่าหนีตามชู้ไปแต่ก็ไม่มีใครเชื่อคำพูดของเขา เพราะทุกคนรู้ว่าชายหาปลาผู้นี้เกลียดภรรยาหลวงและรักภรรยาน้อยมากกว่า แต่ก็ไม่อาจจะช่วยอะไรได้มาก ได้แต่เพียงช่วยปลอบใจเอื้อยเท่านั้น  รุ่งเช้าพ่อกับแม่เลี้ยงบอกให้นางทำงานบ้าน แต่นางยังเจ็บแผลที่ถูกเฆี่ยนตีอยู่จึงขอหยุดพักแต่ทั้งคู่ ไม่ยอมฟังนาง ตรงกันข้ามกับลูกสาวทั้งสองคนของแม่เลี้ยง ที่ไม่ต้องทำอะไรเลย พวกเขาเพียงแต่กินและ เล่นเท่านั้นเอง  หลังจากจมน้ำตาย นางกนิษฐาก็ไปเกิดเป็นปลาบู่ทอง ว่ายน้ำมาที่ท่าน้ำหน้าบ้านและรอเอื้อยด้วย ความรัก ปลาบู่ทองเล่าเรื่องทั้งหมดให้เอื้อยฟัง นางสงสารผู้เป็นแม่มาก นางจะนำอาหารมาให้ปลาผู้เป็น มารดาและพูดคุยกันเพื่อจะได้ลืมความทุกข์โศกทั้งปวง แต่ไม่นานนัก อ้ายก็รู้เรื่องเข้าจึงไปบอกให้แม่ตนเองทราบและแล้วผู้เป็นแม่ก็วางแผนฆ่าปลาบู่ทอง เสีย ในขณะที่เอื้อยได้รับคำสั่งให้ไปเลี้ยงวัวในทุ่งนา ปลาบู่ทองก็ถูกล่อไปฆ่ากินเป็นอาหาร ผู้เป็นแม่เลี้ยง ให้หมาและแมวกินก้างปลาบู่ทองหมดและโยนเกล็ดทิ้งไป ด้วยความสงสารเอื้อยจึงไปถามหมาและแมวซึ่ง ทั้งสองก็ปฏิเสธที่จะบอกความจริง เป็ดเข้ามาปลอบเอื้อยและมอบเกล็ดปลาบู่ทองให้นาง เอื้อยเสียใจมากที่ ได้รู้เรื่อง ดั้งนั้นนางจึงฝังเกล็ดปลาบู่ทองไว้ในป่า และตั้งอธิฐานขอให้แม่มาเกิดเป็นต้นมะเขือเปราะ ด้วยพรของเทวดาในทันใดนั้นก็เกิดต้นมะเขือเปราะงอกงามขึ้น นับแต่นั้นมาเอื้อยผู้มีความสุขก็จะมากราบไหว้ และพูดคุยกับต้นมะเขือเปราะทุกวัน  แต่โชคร้าย อ้ายก็แอบมาเห็นอีจึงไปบอกแม่ของตน ผู้เป็นแม่จึงสั่งให้นางถอนต้นมะเขือเปราะทิ้ง แล้วนำผลมาทานทันที หลังจากกินแล้วก็โยนเม็ดมะเขือเปราะทิ้งไป เป็ดก็เก็บเม็ดมะเขือไว้ให้เอื้อยอีกเอื้อยเสียใจอย่างสุดซึ้ง นางจึงนำเม็ดมะเขือไปปลูกไว้ในป่าแล้วอธิฐาน ขอให้แม่เกิดเป็นต้นโพธิ์ เพื่อที่นางจะได้ กราบไหว้บูชา และด้วยพรของเทวดาต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองก็งอกงามขึ้นในบัดดลในกาลต่อมา พระเจ้าพรหมทัตเสด็จมาทรงเห็นต้นโพธิ์ก็ทรงอยากได้ไปปลูกในวังจึงให้ถามหาเจ้า ของ และเมื่อได้รับการกราบทูลให้ทรงทราบพระองค์ก็ทรงประสงค์ที่จะพบเอื้อย และเอื้อยก็ได้กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ ด้วยความสงสารในตัวนาง พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะอธิเษกสมรสกับเอื้อยและตั้งให้เป็นพระราชีนี และพระเจ้าพรหมทัตทรงถอนต้นโพธิ์ไม่ขึ้น แม้จะมีไพร่พลช่วยก็ตาม จึงทรงรับสั่งให้เอื้อยถอน มาให้พระองค์และเมื่อเอื้อยขออนุญาตมารดาของตน ก็สามารถถอนต้นโพธิ์ขึ้นได้โดยง่าย พระเจ้าพรหมทัต ทรงแปลกพระทัย และทรงดำริว่าเอื้อยมีบุญบารมีสมเป็นพระชาชินี จึงพาไปอยู่ในวังและทรงตั้งให้เป็น พระชาชินีของพระองค์  ในขณะเดียวกัน แม่เลี้ยงและลูกสาวทั้งสองของนางก็เกิดความอิจฉาริษยาอย่างมากที่ได้รู้ข่าวว่า เอื้อยตอนนี้ได้กลายเป็นพระราชินีไปแล้ว จึงไปหายายเฒ่าผู้หนึ่งซึ่งก็ออกอุบายให้ส่งข่าวไปบอกราชินีเอื้อย ว่าบิดาของนางเจ็บหนักใกล้จะตายแล้ว ทันทีที่ได้รับข่าวราชินีเอื้อยผู้กตัญญูก็รีบกลับมาเยี่ยมบิดาที่บ้าน แต่ก่อนที่จะเข้าบ้าน ผู้เป็นแม่เลี้ยงบอกให้นางถอดเครื่องทรงราชินีออกแล้วให้ไปอาบน้ำก่อนจึงค่อยไปพบบิดา ในขณะเดินเข้าไปในห้องด้านใน พระราชินีผู้น่าสงสารก็ตกลงไปในกระทะน้ำเดือดที่นางแม่เลี้ยงจอมริษยา ซ่อนไว้เบื้องล่าง ยังผลให้พระราชินีสิ้นพระชนม์ในทันที จากนั้นอ้ายก็รีบแต่งเครื่องทรงพระราชินีและกลับ วังโดยปลอมเป็นเอื้อย นางเข้าไปพบพระราชาผู้ซึ่งแสดงอาการไม่ค่อยจะเชื่อว่าเป็นเอื้อย แต่อ้ายก็ใช้คาถา ที่ยายเฒ่าให้มาเสกให้พระราชาอยู่ใต้อำนาจของตน แม้กระนั้นพระราชาก็ยังคงสงสัยอยู่ดีว่าทำไมต้นโพธิ์ จึงดูเหี่ยวเฉาไม่มีชีวิตชีวา  หลังจากถูกฆาตกรรมแล้วราชินีเอื้อยก็ไปเกิดเป็นนกแขกเต้า ด้วยความรักและห่วงใยในพระราชา จึงบินมาหาพระองค์และกราบทูลให้พระองค์ทราบเรื่องราวทั้งหมด หลังจากสัตว์ผู้น่าสงสารกราบทูลเรื่อง ราวให้ทรงทราบ พระองค์ก็ทรงเลี้ยงดูนกแขกเต้าไว้ในกรงทอง และทรงพูดคุยด้วยเสมอ และแล้ววันหนึ่ง ราชินีปลอมอ้ายก็แอบมารู้จนได้ ดังนั้นในขณะที่พระราชาเสด็จออกป้าเพื่อคล้องช้างเผือกมาสู่บารมี ราชินี ปลอมก็จับนกแขกเต้าผู้น่าสงสารถอนขนจนหมดแล้วส่งไปให้แม่ครัวแกง นกแขกเต้าแกล้งทำเป็นนอนตาย แม่ครัวเลยไม่สนใจปล่อยมันไว้ในครัวรอเวลาที่จะทำแกงนกถวายพระราชินีในตอนเย็น เจ้านกแขกเต้าผู้ปราศจากขนและทุกข์ทรมาน จึงสบโอกาสหนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในโพรงหนู เมื่อ หานกที่นอนตายอยู่ไม่พบและกลัวจะมีความผิด แม่ครัวจึงไปหาซื้อนกอื่นมาแกงถวาย พระราชินีแทน ฝ่าย แม่ครัวได้รับรางวัลตอบแทนเป็นผ้าสะไบ  เจ้านกแขกเต้าผู้น่าสงสารอาศัยอยู่หนู จนกระทั่งขนขึ้นเต็มตัวก็บอกลาหนู ซึ่งก็อาสาพาไปส่งถึงชายป่าในขณะท่องเที่ยวไปในป่าอยู่ตามลำพังก็เกือบจะถูกงูกินไปแล้ว โชคดีที่นกใหญ่มาจับงูกินเสียก่อน และแล้วนกแขกเต้าก็มาพบพระฤๅษีผู้ซึ่งเกิดความสงสารก็เลยช่วยชุบนกแขกเต้าให้กลายเป็นหญิงสาวสวย พระฤๅษีก็เลี้ยงดู เอื้อยอย่างลูกสาวของตน แต่ก็สังเกตเห็นว่าลูกบุญธรรมของตนดูจะเหงาหงอยอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นท่านจึงวาดรูปขึ้นหลาย ๆ รูปแล้วให้เอื้อยเลือกเอารูปเดียว หลังจาเลือกแล้วท่านก็จะเสกให้เป็นคน เอื้อยจึงเอารูปเด็กชายมอบให้ฤๅษีใช้คาถาเสกให้เป็นคนเพื่อที่นางจะได้เลี้ยงดูเป็นบุตรชาย ท่านฤๅษีจึงตั้งชื่อเด็กชายนั้นว่า “ ลบ ”   ผ่าน ไปหลายปี เจ้าลบเกิดความสงสัยว่าพ่อเป็นใคร เอื้อยจึงเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟัง ทำให้ลบร้องขอที่จะเข้าไปในวังเพื่อกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตให้ทรงทราบความ จริง เอื้อยได้ร้อยพวงมาลัยฝากไปถวายพระเจ้าพรหมทัตด้วย ลบเดินทางมาถึงพระราชวัง ก็พยายามหาทางจนได้โอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตและถวายพวงมาลัย พระเจ้าพรหมทัตเห็นฝีมือร้อยมาลัยก็จดจำได้ว่าเป็นฝีมือของเอื้อย ลบจึงกราบทูลเรื่องราวของเอื้อยถวาย พระเจ้าพรหมทัตดีพระทัยที่เอื้อยยังมีชีวิตอยู่ จึงเสด็จไปรับเอื้อยกลับคืนสู่พระราชวัง  เมื่ออ้ายทราบว่าเอื้อยได้กลับมาที่พระราชวังแล้วอ้ายกลัวความผิดจึงชิงดืมยาพิษฆ่าตัวตายไปก่อน ส่วนขนิษฐีและอี่  ก็ถูก พระเจ้าพรหมทัต ลงโทษด้วยการขับออกนอกวังกลับบ้านไป และให้ถือศีลบำเพ็ญความดีตลอดชีวิต เอื้อยและต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองก็มีชีวิตที่สงบสุข นับจากนั้นเป็นต้นมา.

ที่มา : http://www.wannakadee.com

วรรณคดีไทยเรื่องอุทัยเทวี



อุทัยเทวี



ณ เมืองบาดาล ธิดาพญานาคหนีมาเที่ยวเมืองมนุษย์และพบรักกับรุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้ริมสระน้ำ ธิดาพญานาคตั้งครรภ์รอจนคลอดเป็นไข่ฟองหนึ่ง จึงใช้สไบห่อไข่และพ่นพิษคุ้มครองไว้ก่อนแล้วลงกลับไปเมืองบาดาล บังเอิญมีนางคางคกผ่านมาเห็นจึง กินไข่และตายด้วยพิษพญานาค พอดีกับไข่ฟักเป็นเด็กหญิงซึ่งคิดว่านางคางคกเป็นแม่ของตน จึงอาศัยอยู่ในซากคางคกเน่าๆ  ตายายสองผัวเมียมาตกปลาพายเรือผ่านมาเห็นเข้าก็ช่วยเลี้ยงดูจนโต ตั้งชื่อให้ว่าอุทัยเทวี และอุทัยเทวีได้แต่งงานกับเจ้าชายสุทธิราช ซึ่งก่อนแต่งตากับยาก็ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องสร้างสะพานทองตั้งแต่วัง จนถึงบ้านตายยายแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อุทัยเทวีจึงเป็นสะใภ้แห่งเมืองหลวง มารดาของเจ้าชายไม่ค่อยชอบอุทัยเทวีนัก จึงหาทางให้ลูกของตนเป็นของคนอื่นไป ซึ่งนั่นคือ เจ้าชายต้องไปแต่งงานกับเจ้าหญิงฉันทนา ซึ่งอุทัยเทวีก็ตามไปด้วยตามสัญญา เจ้าหญิงฉันทนาคิดกำจัดอุทัยเทวีโดยฆ่านางอุทัยเทวี แต่พ่อของอุทัยเทวี ช่วยไว้ จึงบอกว่าให้รอแก้แค้นนางฉันทนาอยู่นอกวัง  ต่อมาไม่นานนางฉันทนากลุ้มใจเรื่องผีนางอุทัยเทวีจะมาหลอก หัวจึงหงอก ผมที่เคนดำกลับขาวไปทุกเส้น จึงเอาผ้าพันศีรษะไว้ตลอดเวลา ต่อมานางอุทัยเทวีแปลงกายเป็นแม่ค้าขายขนมแก่ๆผ่านมา ซึ่งผมดำยาวสลวยผิดกับนางฉันทนา นางฉันทนาเห็นเข้าจึง คิดว่ายายแก่คนนี้ก็มีเคร็ดลับในการบำรุงรักษาผมอย่างแน่นอน จึงให้ยายแก่เข้าไปในวัง และให้รักษาผมของตนเองให้ แต่นางอุทัยเทวีก็จะรักษาให้ แต่ต้องยอมให้ทำทุกอย่างห้ามถามอะไรทั้งสิ้น นางฉันทนาตกลง จึงนอนลงแล้วนางอุทัยเทวี ก็เอามีดโกนโกนผมนางฉันทนา ออกจนหมด แล้วกรีดศีรษะนางฉันทนาแล้วเอาปลาร้าให้หม้อครอบหัวนางฉันทนาไว้ และห้ามเอาหม้อออกก่อนวันที่ 7 แต่ไม่ถึงคืนนางฉันทนาทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงสิ้นใจตาย  เจ้าชายสิทธิราช รู้ดังนั้นจึงกลับไปเมืองของตน ซึ่งก็ยังเห็นอุทัยเทวีอยู่ที่เมืองอยู่ก็ทรงโล่งใจ อุทัยเทวี ได้ครองรักกับเจ้าชายอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน.

ที่มา : http://www.wannakadee.com